วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการติดตั้งจาน Vinasat 1 (เวียดนาม)

Samsung GALAXY mini ผู้ช่วยตัวเก่งในการติดตั้งจานดาวเทียม

(หน้าจาน 75 cm. สามารถปรับตั้งคุณภาพสัญญาณได้ 98-100%)


(หน้าจาน 60 cm. สามารถปรับตั้งคุณภาพสัญญาณได้ 95-97%)


(หน้าจาน 35 cm. สามารถปรับตั้งคุณภาพสัญญาณได้ 79-81%)

ข้อมูลทางเทคนิค VinaSat 132.0ºE
  • ต่ำแหน่งมุมกวาดที่ 111.21º มุมก้มเงย 50.41 º (พื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล)
  • มุม Offset 23º
  • LNB Universel ตำแหน่ง (20.00 น. มุมมองจากด้านหน้าจาน) หรือ (16.00 น. มุมมองจากด้านหลังจาน)

ความถี่ Transponder สำหรับการ Scan ช่องสัญญาณ
  • 11549    H     SR    28500      ความถี่ช่อง VTV  เวียดนาม (ฟรีทีวี)

เครื่องมือพิเศษสำหรับการติดตั้ง
  • เครื่องวัดสัญญาณดาวเทียม IDEA SAT SF B1
  • โทรศัพท์มือถือ Samsung GALAXY mini (ใช้สำหรับหามุมก้มเงย และมุมส่ายหน้าจาน)

2 การปรับตั้งหน้าจานแบบละเอียด หรือการปรับแต่งสัญญาณให้แรง

การปรับตั้งหน้าจานแบบละเอียด หรือการปรับแต่งสัญญาณให้แรง
หลังจากจูนสัญญาณดาวเทียมมา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการปรับหน้าจานให้ได้คุณภาพสัญญาณดีที่สุด โดยมี 3 ส่วนที่ต้องทำดังนี้
  1. เริ่มจากการปรับมุมส่ายทำได้โดยคลายน็อตล็อคคอจานแล้วค่อยส่ายหน้าจานไปมา ซ้าย-ขวา ให้ได้คุณภาพสัญญาณที่แรงที่สุด (**หมายเหตุ** ไม่ควรคลายน็อตคอจานหลวมมากเกินไปเพราะจะทำให้มุมก้มเงยเปลี่ยน) เมื่อหามุมส่ายจนได้คุณภาพสัญญาณดีที่สุดแล้วให้ทำการล็อคคอจานให้แน่น
  2. ต่อมาให้ทำการปรับมุมก้มเงย ทำได้โดยคลายน็อตล็อคมุมก้มเงยที่คอจานทั้ง 4 ตัว (คลายน็อตแค่พอกดหน้าจานขึ้นลงได้ก็พอ) หลังจากนั้นก็ให้ค่อยๆ กดหน้าจาน ขึ้น-ลง ทีละน้อยจนได้ตำแหน่งคุณภาพสัญญาณดีที่สุด แล้วให้ทำการล็อคน็อตให้แน่น
  3. ขั้นตอนสุดท้ายใช้ไขควงคลายน็อตล็อค หัว LNB เล็กน้อย แล้วค่อยๆหมุนปรับตำแหน่ง LNB ขึ้นลงเล็กน้อยจนได้คุณภาพสัญญาณดีที่สุด แล้วขันน็อตล็อคหัว LNB พอตึงมือก็ใช้ได้แล้ว (**หมายเหตุ** ไม่ ควรปรับตำแหน่ง LNB มาอยู่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา หรือไกล้จนเกินไป เพราะจะทำให้แนวรับสัญญาณบางช่องอาจมีปัญญาได้ ตำแหน่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 5.30 นาฬิกาหรือต่ำกว่านี้อีกเพียงเล็กน้อย)


 
Credit.   http://satellite-cctv.com/index.php?option=com_content&view=article&id=109&Itemid=117&limitstart=3

1. มือใหม่ติดตั้งจาน Astro ให้แรงทำอย่างไร ..?

มือใหม่ติดตั้งจาน Astro ให้แรงทำอย่างไร ..?

อย่างแรกเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้พร้อม ได้แก่
  1. ชุดหน้าจาน IPM ขนาด 60 cm. 1 ชุด (ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลใช้หน้าจานขนาด 60 cm. หรือ 75 cm. ได้คุณภาพสัญญาณไม่แตกต่างกันครับ) สำหรับการรับสัญญาณดาวเทียม Astro แนะนำให้ใช้หน้าจานทรงรีคุณภาพสัญญาณดีกว่าทรงกลม ถ้าไม่อยากคิดให้ปวดหัวก็หน้าจาน IPM ครับ
  2. LNB UNIVERSAL - KU ย่านความถี่สากล 9750-10600 (1 หรือ 2 เขี้ยวก็ได้)
  3. สำหรับการทดสอบผมใช้ขาตั้งภาคสนาม (มันเป็นขาตั้งตู้ลำโพงครับ ซื้อมา 600 บาท) เสร็จงานยังเอาไปออกบูธได้อีก ... เห่อๆ
  4. Angle Level เอาไว้ตั้งเสาให้ได้ฉาก และใช้หามุมก้ม มุมเงย (อันนี้ซื้อมา 150 บาท) มีแม่เหล็กในตัว
  5. เข้มทิศ ใช้สำหรับหามุมส่ายของหน้าจาน (ถูกๆ แต่ใช้ดี 100 บาท)
  6. เครื่องวัดสัญญาณดาวเทียม (ผมใช้ iDeasat SF B1 ที่ใช้อันนี้เพราะหาซื้อได้ง่่าย ที่สำคัญสนิทกับเจ้าของร้านเลยซื้อได้ถูกหน่อย ส่วนราคาลองไปสืบหาเองนะครับ)
  7. อื่นๆ เช่น ประแจปากตายแหวนข้าง เบอร์ 10 , ไขควงแฉก, หัว F-Type (ชอบแบบไหนก็เลือกได้ตามใจเลยครับ)


(รูปประกอบที่ 1)

ขั้นตอนการติดตั้งจาน Astro สำหรับมือใหม่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
  1. การปรับตั้งหน้าจานเบื้องต้น
    • การปรับตั้งมุมก้มเงย
    • การตั้งหัว LNB
    • การปรับตั้งมุมส่ายหน้าจาน
  2. การสแกนหาสัญญาณดาวเทียม โดยใช้เครื่องมือวัดสัญญาณดาวเทียม
  3. การปรับตั้งหน้าจานแบบละเอียด หรือการปรับแต่งสัญญาณให้แรง

ถ้าพร้อมแล้วลุยงานติดตั้งได้เลยครับ ** การปรับตั้งหน้าจานเบื้องต้น **
  • เริ่มจากการตรวจเช็คการบิดเบี้ยวของหน้าจานก่อนทำการประกอบชุดจาน ทำได้ง่ายๆโดยหาพื้นเรียบๆ ถ้ามีโต๊ะกระจกได้ยิ่งดี แล้ววางหน้าจานคล่ำลงกับพื้นสังเกตุขอบจานจะต้องสนิทกับพื้นโดยรอบ ถ้ามีส่วนใดโค้งงอสูงจากพื้นเกิน 5 มม. แนะนำให้เปลี่ยนจานใหม่ได้เลยเพราะมันจะทำให้สัญญาณดาวเทียมที่ตกบนหน้าจาน สะท้อนรวมสัญญาณได้ไม่ดี จะทำให้ได้คุณภาพสัญญาณต่ำ
  • ประกอบชุดหน้าจานยึดเข้ากับเสา (ส่วนนี้ไม่อธิบายนะครับเพราะถ้าคุณประกอบผิดมันจะสวมเข้ากับหัวเสาไม่ได้อยู่แล้ว)
  • ปรับตั้งเสาแนวดิ่งให้ได้ 90 องศาทั้ง 4 ด้าน (ถ้าเป็นการติดตั้งกับขางอแบบถาวร ควรปรับตั้งเสาให้ได้ 90 องศา ก่อนสวมหน้าจานเข้ากับหัวเสา) (รูปประกอบที่ 2)
**หมายเหตุ** ถ้าตั้งเสาไม่ได้ 90 องศา หรือตั้งเสาเอียงจะทำให้รับสัญญาณได้หรือไม่ ? ตอบ ได้ครับ แต่จะทำให้หาสัญญาณได้ยากกว่า ที่สำคัญจะทำให้ได้คุณภาพสัญญาณไม่ดี เพราะถ้าเสาเอียง แล้วเราพยายามปรับหน้าจานให้ได้องศาของดาวเทียม ผลที่ได้จะมีค่าเท่ากับหน้าจานบิดเบี้ยวนั่นเอง



(รูปประกอบที่ 2)

  • รับตั้งมุมเงยที่คอจานให้ประมาณ 71 องศา แล้ว ล็อคน็อตพอตึงมือทั้งสองด้าน (สำหรับท่านใดใช้ชุดจาน IPM ปรับตั้งตามรูปได้เลยครับ แต่สำหรับท่านใดใช้จานยี่ห้ออื่นแล้วตัวเลขที่คอจานแตกต่างกันก็ให้ใช้ Angle จับที่แขนยึดหัว LNB ตรงส่วนหลังจาน แล้วปรับมุมเงยหน้าจานให้ได้ประมาณ 36-37 องศา (รูปประกอบที่ 3)

(รูปประกอบที่ 3)


  • ปรับตั้ง LNB ให้หัว F-Type อยู่ตำแหน่งประมาณ 17 นาฬิกา (รูปประกอบที่ 4)

ตำแหน่งการหันหน้าจาน


วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

VirtualBox error: Kernel driver not installed (rc=-1908)

(CentOS 6.x )  VirtualBox error: Kernel driver not installed (rc=-1908)


yum update kernel
yum install kernel-devel
reboot 
       ติดตั้ง DKMS

สำหรับ Version 64 bit   ให้สั่ง
# wget http://mirror1.ku.ac.th/redhat/el6/en/x86_64/rpmforge/RPMS/rpmforge-release-0.5.2-2.el6.rf.x86_64.rpm
        # Link สำรอง http://pkgs.org/centos-6-rhel-6/repoforge-x86_64/rpmforge-release-0.5.2-2.el6.rf.x86_64.rpm/download/
# rpm -ivh rpmforge-release-0.5.2-2.el6.rf.x86_64.rpm
# yum install fuse fuse-ntfs-3g dkms dkms-fuse -y

สำหรับ Version 32  bit  ให้สั่ง
# wget http://mirror1.ku.ac.th/redhat/el6/en/i386/rpmforge/RPMS/rpmforge-release-0.5.2-2.el6.rf.i686.rpm
# rpm -ivh rpmforge-release-0.5.2-2.el6.rf.i686.rpm
# yum install fuse fuse-ntfs-3g dkms dkms-fuse –y

    run  /etc/init.d/vboxdrv setup


วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

มาทำ File Sharing แบบอย่างง่าย Authen ด้วย Open LDAP - OpenFiler กัน

คุณสมบัติ ของ OpenFiler นั้นคือเป็น linux ที่ดัดแปลงจาก CentOS  แต่มีการใช้งานผ่านหน้าเว็บ Interface ทำให้ง่ายต่อการใช้งานพอสมควร

สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้
http://www.openfiler.com/
http://www.openfiler.com/products/screenshots/

Download ได้ที่ ขนาดไฟล์ประมาณ 300+ MB
http://www.openfiler.com/community/download/

เริ่มติดตั้งใช้งานกัน

A   Install
   - Partition
      HDD1
      /boot           100 MB
      /                   2048 MB
      /swap           2048 MB  (2 เท่าของ RAM แต่ไม่เกิน 2 GB นะครับ)
ที่เหลือให้เป็น free
      HDD2
      free
   -Remember Root/Password  (มีคำแนะนำว่าให้ใช้แบบง่าย ๆ อย่าซับซ้อนมาก เพราะบางท่านเจอจะมีปัญหากับ OpenLDAP  ให้ใช้แบบง่าย ๆ ไปก่อนนะครับ เช่น cat หรือ password )

B   Configuration
   https://192.168.99.12:446
   Defualt User  /  Password = openfiler  /  password
1   Network setting and Update
      ที่แทบ System
   1.1   เช็คค่า Network Configuration
   1.2   Update ต้องทำเป็นอันดับแรกไม่เช่นนั้นมี Bug เยอะมาก เมนูอยู่ด้านบนขวาครับ และต้องทำให้สำเร็จจนกว่าระบบแจ้ง Nothing to be updated
   1.3   Reboot 1 รอบ
   1.4   Network Interface Configuration เพื่ม Network ที่ต้องการ Access เข้ามาได้ หรือ IP เครื่องที่ต้องการให้ใช้งาน

   1.5   ที่แทบ Service Disabled Service ต่าง ๆ ก่อนค่อยมาเปิดทีหลัง



2   Create Account and Group With LDAP
   ที่แทบ Account
   2.1   เลือก
      Use LDAP
      -  Use Local LDAP Server
      -  Use TLS
      -  Server : 127.0.0.1
      -  Base DN : dc=itdue,dc=com
      -  Root bind DN : cn=openfiler,dc=itdue,dc=com
      -  Root bind password : Password ของ Root ตอนติดตั้ง
      -  SMB LDAP Configuration
      -  User password policy

   2.2   ที่เมนูขวามือ เลือก Administration แล้วเลือกเมนู Group Administration จากนั้นเพิ่มชื่อ Group

   2.3   ที่เมนู User Administration เพิ่ม User ที่ใช้งาน
 


    
3   Create Volume Group
   3.1   เลือก แทบ Volumes ตั้งชื่อ Volume ที่ต้องการ (เมื่อแชร์แล้วระบบจะเห็นชื่อนี้ด้วยดังนั้นควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายกับ ผู้ใช้งาน)

   3.2   เลือก Physical Volume



4   Create Filesystem Volume
      ที่แทบ Share
   4.1   Click  create a new filesystem volume
   4.2   เลือก Select Volume Group ที่สร้างไว้ แล้วกด Chang

      -  ใส่ Volume Name, Volume Description, Requred Space, Filesystem



5   Create Share Folder
      ที่แทบ Share
   5.1   Click ชื่อ Volume Group ที่สร้างไว้
   5.2   ใส่ชื่อ Folder ที่ต้องการแชร์
   5.3   Click ชื่อ Folder ที่สร้างไว้ แล้วเลือก Make Share

   5.4   Group access configuration เลือก
      -  Controlled access
      -  PG สร้าง Primary Group ให้กับ Folder ที่แชร์
      -  RW ให้  Group นั้น Read และ Write ได้
   5.5   Host access configuration เลือก
      -  Restart services
      -  RW



6   Quota
   6.1   Select Volume and Edit group quota
   6.2   Edit group quota
      -  ด้านบนไว้สำหรับทำทุก ๆ Group
      -  ด้านล่างไว้สำหรับจัดการแยกแต่ละ Group



7   Enable Service
   7.1   Enable Service ที่ใช้งานครับ



8   You Done


หวังว่าพอเป็นประโยชน์ต่อท่านที่กำลังศึกษาอยู่บ้างนะครับ

เพิ่มเติม
- อย่าลืมเข้าไปเปลี่ยน Password Admin ด้วยนะครับ
- ไม่ทราบว่าใครพอมีบทความที่เกียวกับ
 Smiley- การใช้งาน iscsi
 Smiley- การใช้งานร่วมกับ AD   รบกวนแปะ link ให้หน่อยนะครับ เผื่อได้เอาไปศึกษาต่อได้


ขอบคุณครับ

NokTualek
เมื่อ: 13 มกราคม 2011, 16:23:58

ผมจะย่อรูปไฟล์แนบ ด้านล่างยังไงครับ เพื่อให้โชว์เฉพาะ ข้อความด้านบนเท่านั้น

ขอบคุณครับ



* 1.4 network.png (18.45 KB, 727x685 - ดู 752 ครั้ง.)

* 2.1.png (6.19 KB, 516x354 - ดู 743 ครั้ง.)

* 2.2.png (19.08 KB, 1203x372 - ดู 743 ครั้ง.)

* 2.3.png (11.58 KB, 718x606 - ดู 735 ครั้ง.)

* 3.1.png (13.09 KB, 502x475 - ดู 743 ครั้ง.)

* 4.2.png (26.68 KB, 583x868 - ดู 748 ครั้ง.)

* 5.3.png (15.19 KB, 639x484 - ดู 736 ครั้ง.)

* 5.5.png (8.78 KB, 900x243 - ดู 732 ครั้ง.)

* 6.2.png (17.7 KB, 752x615 - ดู 739 ครั้ง.)

* 7.png (10.83 KB, 400x522 - ดู 748 ครั้ง.)

* 8.1.png (11.65 KB, 268x216 - ดู 828 ครั้ง.)
 

***************************************************************************
Credit By  NokTualek    
http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=136120.0